Bookmark and Share Add to Favorites  
สมาคม
  LIN (SURNAME)
   China's Lin Clan Network
   Chaoshan Lin
   สมาคมตระกูลลิ้มแห่งประเทศไทย
  ชุมชนชาวฮากกา
หนังสือพิมพ์
  ซินหัวไทย
  China Daily
  China News
  People's Daily Online
  Xinhua
  China Youth Daily
  Bangkokpost
  มติชน
  ไทยรัฐ
  เดลินิวส์
  ผู้จัดการ
  คมชัดลึก
  กรุงเทพธุรกิจ
  บ้านเมือง
  แนวหน้า
  ไทยโพสต์
  โพสต์ทูเดย์
  สยามรัฐ
  บางกอกทูเดย์
  โลกวันนี้
  เส้นทางเศรษฐกิจ
  มติชนสุดสัปดาห์
มุมนักเสี่ยงโชค
  ตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
  ตรวจสลากย้อนหลัง
  ผลสลากออมสิน
  ธกส.ออมทรัพย์ทวีสิน
แลกเปลี่ยนเงินตราและหุ้น
  ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
  ธนาคารไทยพาณิชย์
  ธนาคารกรุงเทพ
  ตลาดหลักทรัพย์ - หุ้น
  ตลาดหุ้น
เว็บเครือข่าย
  สมบูรณ์อินโฟ
  ภูเก็ตสารสนเทศ
  สมบูรณ์แก่นโน้ต

ศาลเจ้ามาจู่ทั่วโลก

 

 

       

 

       

 

 

        กล่าวกันว่าในปัจจุบันมีศาลเจ้าแม่มาจู่กว่า  ๒๐๐๐  แห่ง   ทั่วโลก   ซึ่งแต่เดิมมักจะสร้างกันแถบหมู่บ้านชาวประมงแต่ละแห่ง  แถบท่าเรือ  อู่ต่อเรือซ่อมเรือ  หมู่บ้านริมทะเล  ริมแม่น้ำ เป็นหลัก  

ประเทศจีน                                                       

         เกาะเหมยโจว  เป็นเกาะเล็กๆ อยู่ทางเหนือปากทางเข้าอ่าวเหมยโจว  มีเนื้อที่ทั้งหมด  ๑๔.๓๕ ตารางกิโลเมตร  ความยาวจากเหนือสู่ใต้  ๙.๕  กิโลเมตร  ความกว้าง  ๑.๓  กิโลเมตร  เกาะเหมยโจวขึ้นกับเมืองเหมยโจว  มี ๑๑ หมู่บ้าน  และขึ้นตรงกับเทศลาลเมืองพูเถียน  ประชากรประมาณ  ๓๘,๐๐๐  คน  มีอาชีพชาวประมงและฐานะค่อนข้างยากจน

             ศาลเจ้าแห่งแรกสร้างเมื่อ พ.ศ.  ๑๕๓๐ สมัยราชวงศ์ซ่ง บนเกาะเหมยโจว  โดยชาวบ้านร่วมกันสร้างเป็นศาลเจ้าหลังเล็กๆ  ต่อมาได้บูรณปฏิสังขรณ์ก่อสร้างเพิ่มเติมจากสมเด็จพระจักรพรรดิราชวงศ์ต่างๆ  นอกจากอาคารแล้วภายในยังมีทรัพย์สมบัติแก้วแหวนเงินทองเป็นจำนวนมาก จากผู้มีจิตศรัทธาถวายเจ้าแม่สะสมมาพันกว่าปี  สมบัติเหล่านี้ได้รับการจัดเก็บรักษาไว้อย่างดีถึงสมัยการปฏิวัติวัฒนธรรม ได้ถูกทำลายลงเป็นอันมาก  สมบัติดังกล่าวพวกปฏิวัติวัฒนธรรม ได้ขนไปจนหมดสิ้น  โดยเฉพาะตราประทับประจำตำแหน่ง ของเจ้าแม่ที่ทำด้วยทองคำภายหลังไปปรากฏอยู่ที่บ้านแห่งหนึ่ง  ต่อมารัฐบาลท้องถิ่นได้บูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นมาใหม่เมื่อ พ.ศ.  ๒๕๒๔  ภายใต้การกำกับดูแลของทางการทหาร 

         ในปี พ.ศ. ๒๕๓๐  ชาวไต้หวันมีจิตศรัทธาร่วมกันบริจาคเงินก่อสร้างศาลเจ้าแห่งใหม่ ในรูปแบบสถาปัตยกรรมราชวงศ์ซ่งเสร็จเมื่อ พ.ศ.  ๒๕๔๕ มีห้องหับต่างๆ  และองค์เจ้าแม่ที่สร้างใหม่สูงห้าเมตรไว้ในอาคาร  เป็นองค์ที่สวยงามแต่ชาวบ้านกล่าวกันว่าอยู่ห่างสัมผัสท่านยาก  สู้องค์เก่าที่มีขนาดเล็กในศาลเจ้าเก่า ซึ่งชาวบ้านเข้าถึงง่ายกว่าและเป็นแบบกันเองแบบชาวบ้าน  รูปแกะสลักไม้ในศาลเจ้า ส่วนใหญ่ใช้รากไม้หรือขอนไม้ที่ชาวประมงใช้เกาะเมื่อเรือล่มและตนรอดชีวิต  แล้วนำท่อนไม้ดังกล่าวมาให้ช่างแกะเป็นรูปเจ้าแม่แล้วนำไปไว้ที่ศาลเจ้า  นอกจากนี้ยังได้สร้างรูปแกะสลักจากหินแกรนิตสูงสิบเมตร  ตรงจุดที่สูงที่สุดบนเกาะผินพระพักตร์ไปไต้หวันโดยได้รับทุนจากศาลเจ้าแม่มาจู่จากไต้หวัน

         ฝ่ายรัฐบาลกลางได้มอบหมายให้มณฑลฝูเจี้ยน  พัฒนาเป็นแหล่งเศรษฐกิจการท่องเที่ยว โดยลงทุนที่เกาะเหมยโจวหกพันล้านหยวน  และประกาศให้เกาะเหมยโจวเป็นแหล่งท่องเที่ยวและพักผ่อนแห่งชาติไปแล้วเมื่อพ.ศ.  ๒๕๓๕   (  Meizhou  Island  National  Tourism  &  Vacation  Resort  )    และขึ้นตรงต่อการปกครองท้องถิ่นเมืองพูเถียน  ทางการฝูเจี้ยนอำนวยความสะดวก เรื่องงบประมาณการก่อสร้างท่าเรือให้น้ำลึกเพื่อให้เรือเฟอร์รี่เข้าจอดได้  สร้างถนนรอบเกาะ  จุดชมวิว  ชายหาดซึ่งยาวยี่สิบกิโลเมตร  สวนสาธารณะ  โชคดีของชาวบ้านที่มีไฟฟ้าและน้ำประปาใช้   แต่โชคร้ายของชาวบ้านยากจนที่ต้องการขึ้นเกาะเพื่อนมัสการเจ้าแม่  เพราะทางการเก็บค่าขึ้นเกาะด้วย  นอกจากที่เกาะเหมยโจวแล้ว  ที่พูเถียนมีศาลเจ้ากว่าสามร้อยแห่ง  ทางการยังทุ่มงบประมาณสร้างศาลเจ้าแม่มาจู่ใหม่อีกสามสิบหกแห่ง  สำหรับแผนพัฒนาเกาะเหมยโจวนั้น  ประกอบด้วย  ศูนย์กองทุนผู้แสวงบุญเจ้าแม่มาจู่จากชาวไต้หวัน  พิพิธภัณฑ์เจ้าแม่มาจู่  สวนป่าเจ้าแม่มาจู่  และหมู่บ้านจำลองวัฒนธรรมสมัยเจ้าแม่มาจู่     ในปี พ.ศ. ๒๕๕๓ รัฐบาลจีนจะลงทุนพัฒนาศาลเจ้าแม่มาจู่อีก  ห้าพันล้านหยวน    

         ศาลเจ้าแม่มาจู่ที่ใหญ่ที่สุดตั้งอยู่ที่เมืองกว่างโจว  มณฑลกว่างตง

         ศาลเจ้าที่ เมืองเจิ้งหู ในไต้หวันสร้างเมื่อ พ.ศ.  ๒๒๒๘    ใหญ่เป็นอันดับสอง    ที่ไต้หวันยังมีศาลเจ้าแม่มาจู่หลังน้อยใหญ่อีกกว่าแปดร้อยแห่ง

        ศาลเจ้าเทียนโหว  ที่เมืองเทียนจิน   ใหญ่เป็นอันดับสาม

    นอกจากนี้ยังมีศาลเจ้าแม่มาจู่ที่เมืองต้านตง  อันไท่  จินหางเต้า  เซี่ยงไฮ้  หนิงโป  หางโจว  ฝูโจว  เซี่ยเหมิน  ที่มาเก๊าเมื่อชาวโปรตุเกสเดินทางมาถึงเอเหมิน (  เอ้หมึง - ประตูอ่าว )  พวกเขาได้เห็นศาลเจ้าแม่มาจู่  ( Ma – kok – miu )  หรือศาลเจ้าอาม่า  ( Ama Temple )   ที่ ฮ่องกงมีกว่าร้อยแห่ง   และ เกาะไหหลำ  เป็นต้น

สิงคโปร์

        ศาลเจ้าแม่ที่สิงคโปร์สร้างเมื่อ พ.ศ.  ๒๓๘๓  คือ ศาลเจ้าเทียนฮกเก็ง  โดยชาวจีนฮกเกี้ยน

 

มาเลเซีย

ศาลเจ้าที่เมืองกวนตัน  รัฐปะหัง  สร้างเมื่อ พ.ศ.  ๒๔๔๗  ครบรอบร้อยปีได้สร้างใหม่สวยงามมาก  นอกจากนี้ตามรัฐชายทะเลยังมีศาลเจ้าอีกหลายแห่ง

ไทย

         ศาลเจ้าแม่มาจู่ที่ประเทศไทยมีหลายแห่ง  ส่วนใหญ่ตั้งอยู่หมู่บ้านและเมืองริมทะเล  ตลอดจนริมแม่น้ำ  ที่กรุงเทพมหานคร  ที่เก่าแก่คือเขตบางขุนเทียน  ได้ก่อสร้างเมื่อประมาณ พ.ศ.  ๒๓๗๗ หันหน้าออกคลองชักพระ  ศาลเจ้าแห่งนี้ได้รับการซ่อมแซมหลายครั้ง  ในปี พ.ศ.  ๒๔๑๗  ชาวฮกเกี้ยนได้บริจาคเงินซ่อมแซมใหม่  เรียกว่า ศาลเจ้าเทียนโหวเซียบ้อ  และที่อื่นที่มีคนไปสักการะมาก เช่น ที่พาหุรัด  ชื่อศาลเจ้าเทียนโหวเซียบ้อ  ที่บางโพชื่อ ศาลเจ้าเทียนโหวเซียบ้อ  ที่ซอยโกวบ้อ ตากสินชื่อ  ศาลเจ้าเทียนโหวเซียโกว  ที่บางซื่อชื่อ  ศาลเจ้าเจียสุนเซียเนี้ย  ที่วัดเลียบชื่อศาลเจ้าจุยบ้วยเซียเนี้ย  ที่เชิงสะพานซังฮี้ชื่อ  ศาลเจ้าจุยบ้วยเซียเนี้ย  ที่ดาวคะนองชื่อ  ศาลเจ้าจุยบ้วยเซียเนี้ย ที่ถนนจักรเพชรชื่อ  ศาลเจ้าเทียนโหวกง หรือ ฮกเฮงกง  ที่จุฬาลงกรณ์ซอย ๓  ชื่อ  ศาลเจ้าเทียนโหว    นอกจากนี้มีศาลเจ้าเขตสัมพันธวงศ์  เขตตลิ่งชัน  ซอยชิดลม   ท่าเรือสี่พระยา ซอยปลูกจิต ปทุมวัน     เป็นต้น  ทุกแห่งเป็นที่รู้จักกันในนาม   ศาลเจ้าแม่ทับทิม

 

 

      พระนครศรีอยุธยา  วัดพนัญเชิง  ศาลเจ้าแม่จูแซเนี้ย

      อุทัยธานี  ศาลเจ้าแม่จุ้ยบวยเนี้ย

      เชียงใหม่  ศาลเจ้าแม่ทับทิม  ของสมาคมไหหนำ ( ไหหลำ )

 

 

      พิจิตร  ศาลเจ้าแม่ทับทิม   อายุกว่า ๑๐๐ ปี

      อุตรดิตถ์  อำเภอพิชัย   ศาลเจ้าแม่ทับทิม

      นครสวรรค์  ศาลเจ้าแม่ทับทิม  ( ไหหลำ )

      ชัยภูมิ  อำเภอภูเขียว  ศาลเจ้าแม่ทับทิม

 

 

      นครราชสีมา  ศาลเจ้าแม่ทับทิม  สมาคมไหหนำ  ( ไหหลำ )

       ฉะเชิงเทรา  อำเภอบางปะกง   ศาลเจ้าแม่ทับทิม

       ชลบุรี  ศาลเจ้าแม่ทับทิม

       ประจวบคีรีขันธ์  อำเภอหัวหิน ชายหาดหัวหิน  อำเภอปราณบุรี ปากน้ำปราณฯ ศาลเจ้าแม่ ฯ

 

 

       ระยอง  ศาลเจ้าแม่ทับทิม

       สมุทรสาคร  ศาลเจ้าแม่ทับทิม  - เจ้าแม่หมุยฮวง  -  จุ้ยบ้วยเนี้ย

 

 

       ภูเก็ต  ศาลเจ้าซัมซานเทียนเฮวกึ๋ง ตั้งอยู่ที่เลขที่ ๑๑๐  ถนนกระบี่ อำเภอเมือง ภูเก็ต   ศาลเจ้าแห่งนี้อ่านและเขียนหลายอย่างคือ   ศาลเจ้าซัมส้านเฮวกึ๋ง  ม้าจ้อโป๋  ศาลเจ้าแม่ย่านางเรือ ภูเก็ต  Sam San Tein Huo Kong , Tein Hou , The Queen of Heaven ,  The Queen of Seas   ก่อสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.  ๒๓๙๖  หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔  ขึ้นครองราชสมบัติได้สองปี   ผู้ดำเนินการสร้างคือ  หลิมบุ่นซ่วน  จากภาพถ่ายของท่านในชุดทหารราชวงศ์ชิง  ท่านคงเคยรับราชการมาก่อนและได้ย้ายมาทำมาหากินที่ภูเก็ต  เช่นเดียวกับคนจีนอื่นๆคือท่านน่าจะเป็นชาวฮกเกี้ยน  นอกจากนี้ยังมีศาลเจ้ากิ่วเหล่งต๋อง มาจอโป๋  ชมรมตระกูลหลิมภูเก็ตเป็นผู้ดูแล  ตั้งอยู่ที่ถนนตะกั่วป่า  อำเภอเมือง ภูเก็ต  ที่ศาลเจ้าปุดจ้อ ( กวนอิม )สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๑  มีพระรูปเจ้าแม่มาจู่ ๔ องค์ ด้วยกาลเวลาที่ถูกรมด้วยควันธูปทำให้องค์พระรูปเป็นสีน้ำตาลเข้ม  องค์ใหญ่ขนาดประมาณ ๓๐ นิ้วเป็นรูปที่งดงามมากเข้าใจว่าเป็นรูปเคลือบ องค์รองประมาณ๑๒ นิ้ว ๙ นิ้ว และ ๖ นิ้วตามลำดับ พระหัตถ์จับเข็มขัด มีรูปหนึ่งพระหัตถ์ถือพระป้ายเข้าเฝ้า รวมกลุ่ม มีป้ายเขียนว่า  เทียนซ่งเซ่งโบ้ ( แม่ย่านาง)   ศาลเจ้าแม่มาจอโป๋ที่ถนนถลาง ชมรมหรือสมาคมไหลหลำภูเก็ต

ประเทศต่างๆทั่วโลก

        ครั้งแรกนั้นศาลเจ้าแม่มาจู่จะสร้างแถบชายฝั่งทะเลจีน  ต่อมาได้กระจายไปยังประเทศเกาหลี  ญี่ปุ่น เวียดนาม กัมพูชา  ไทย  มาเลเซีย  สิงคโปร์  อินโดนีเซีย แถบเมือง มะละกา  ปาเล็มบัง  ตังเกอรัง  ตูบัน  กะลิมันตัน  บังกา  เบลิตัง  ปีนัง ปะหัง   เกาะชะวาด้านเหนือ  เกาะสุมาตราด้านใต้และตะวันออก  ฟิลิปปินส์  อินเดีย  กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส  ในสหรัฐอเมริกา  แถบเมืองไชน่าทาวน์เช่น  นิวยอร์ค  ที่ ซาน ฟรานซิสโกมีศาลเจ้าแม่ทินหาว  ตั้งอยู่ที่  ๑๒๕ ถนนเวฟเวอร์ลี่  และที่ เมืองซาว เปาโลว   เป็นต้น

        อย่างไรก็ตาม  เมื่อชาวจีนและเชื้อสายจีนได้ทำมาหากินยังประเทศต่างๆดังกล่าว  จนมีฐานะมั่งคง  จึงได้ขยับขยายการสร้างศาลเจ้าเทพองค์อื่นๆที่พวกตนหรือบรรพบุรุษนับถือ  เช่น ศาลเจ้ากวนอู  ศาลเจ้าโจวซือกง  ศาลเจ้าหลิมฮู้ไท่ซือ  ศาลเจ้าจ้ออ๋อง  ศาลเจ้าเจ่งอ๋อง  เป็นต้น

 

 

              :      สมบูรณ์ แก่นตะเคียน    ๒๕๕๑

 

 Title      :      Matzu Shrines

 

             :      Somboon Kantakian

 

บทความอื่นๆ ในหมวดเดียวกัน